คำว่า Data Governance แปลเป็นไทยว่า การธรรมาภิบาลข้อมูล ซึ่งหมายถึง การกำกับดูแลข้อมูล โดยมีการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอย่างมีระบบ ตั้งแต่การเกิดของข้อมูล การจัดเก็บ การวิเคราะห์ การทำลาย การเข้าถึง การรักษาความปลอดภัย และการนำไปใช้ โดยให้ความสำคัญทั้งในมุมกระบวนการ บุคลากร และเทคโนโลยี

ทำไม Data Governance ถึงมีความสำคัญ? เพราะ Data ที่เกิดขึ้นในองค์กร มีความกระจัดกระจาย ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลเดียวกันได้ แม้จะอยู่ในองค์กรเดียวกัน ส่งผลให้องค์กรไม่สามารถนำ Data นั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ การมี Data Governance ก่อให้เกิดกฎระเบียบในการบริหารจัดการข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดข้อมูลซ้ำซ้อน ข้อมูลไม่มีคุณภาพ และการหวงแหนข้อมูลได้อีกด้วย

ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ Data Governance ไม่ใช่แค่เอกสารที่เป็นกฎระเบียบขององค์กรเท่านั้น แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบ Infrastructure ใหม่เสียด้วย เพราะการเข้าถึงข้อมูล จะต้องโปร่งใส และมีการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลอย่างชัดเจน ดังนั้นในท้ายที่สุดของการผลักดันโครงการ Data Governance จะเป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานขององค์กรทั้งหมด เพื่อรองรับการทำงานแบบ Data-Driven Business นั่นเอง

Data Governance Framework

Data Governance นั้นถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้เกิดการขับ เคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลที่ดีได้อย่างยั่งยืน และเป็นแนวทางที่จะช่วยให้สามารถกำหนดทิศทาง ควบคุม ให้ข้อมูลมีคุณภาพที่ดี เป็นขั้นตอนที่จะทำให้ข้อมูลภายในองค์กรดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้การจัดทำ Data Governance นั้นไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัวชัดเจน ดังนั้น ทาง DGA จึงได้กำหนด Data Governance Framework ขึ้นมาเพื่อให้เป็นหลักยึดได้ง่ายขึ้นว่าจะต้องมีปัจจัยใดบ้างเป็นสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงและ พิจารณา อันได้แก่

  • – Policy & Standard คือนโยบายต่างๆ และมาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูล โดยจะต้อง มีการจัดทำเอกสารนิยามต่างๆ เพื่ออธิบายข้อมูลให้มีความชัดเจน อย่างเช่น เอกสาร พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) การใส่คำอธิบายของข้อมูลหรือชนิดข้อมูล เป็นต้น
  • – Privacy & Compliance คือการกำหนดนโยบายความเป็นส่วนตัวและการอนุญาตให้ใช้ งานข้อมูลดังกล่าว การจัดลำดับชั้นความลับของข้อมูล
  • – Role & Responsibility คือการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลข้อมูล ใครต้องทำอะไรในข้อมูลชุดนั้นๆ บ้าง อย่างเช่น ใครเป็นเจ้าของข้อมูล (Data Owner) ใครเป็นผู้ใช้ข้อมูล (Data User) หรือผู้สนับสนุนข้อมูล (Data Supporter)
  • – Process คือกระบวนการในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีระบบ วิธีการจัดการกับข้อมูล แต่ละประเภท เพื่อให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา และให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
  • – Guideline คือแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่จะทำให้กระบวนการภายในทั้งหลายไปใน แนวทางเดียวกัน

เป้าหมายของการทำ Data Governance

สำหรับการทำ Data Governance นั้น เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือการทำให้เกิด “ข้อมูลที่ดี” ภายในองค์กร ซึ่งข้อมูลที่ดีนั้นมี 3 องค์ประกอบสำคัญด้วยกัน ได้แก่

  • – Data Security ข้อมูลจะต้องมีความปลอดภัย สามารถรักษาความลับข้อมูลได้ (Confidentiality) มีการกำหนดสิทธิว่าใครแก้ไขได้บ้าง (Integrity) และมีการสำรอง ข้อมูลไว้เผื่อกรณีเกิดปัญหาต้องกู้คืนข้อมูล (Availability)
  • – Data Privacy ข้อมูลจะต้องมีการปกป้องความเป็นส่วนบุคคล โดยต้องมีการขออนุญาต (consent) จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเสมอ
  • – Data Quality ข้อมูลจะต้องมีคุณภาพ มีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มีมาตรฐานเดียวกัน ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้

ส่วนที่ยากสุดใน 3 องค์ประกอบนั้นคือ Data Quality เนื่องด้วยคำว่าคุณภาพที่ดีนั้นอาจเรียก ได้ว่าไม่ได้มีอะไรบอกชัดเจนนักว่าอะไรเรียกว่า “มีคุณภาพ” จึงถือว่า Data Quality เป็นงานที่มีมิติ ซับซ้อน จึงต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในระดับสูง ถึงจะสามารถประเมินได้ว่ามีคุณภาพจริงหรือไม่ ซึ่ง Data Governance Framework ได้มีแนวทางในการตรวจสอบเพื่อการประเมินผล 6 องค์ประกอบ ให้พิจารณาด้วยกัน ได้แก่

  • – ความถูกต้อง (Accuracy)
  • – ความครบถ้วน (Completeness)
  • – ความสอดคล้องกัน (Consistency)
  • – ความเป็นปัจจุบัน (Timeliness)
  • – ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy)
  • – ความพร้อมใช้ (Availability)

จะเห็นได้ว่าการทำ Data Governance นั้นไม่ได้ยากนักหากเข้าใจในหลักการและเป้าหมายที่ จะได้ออกมาจากการดำเนินการ นอกจากนี้ การจะสร้าง Data Governance ให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของแผนก IT ภายในองค์กรหรือใครคนใดคนหนึ่งเพียงเท่านั้น หากแต่เป็นภารกิจของคนทุกคน ภายในองค์กรหรือทุกระดับชั้นในธุรกิจที่จะต้องร่วมมือกันดำเนินการตามธรรมาภิบาลที่ได้มีการกำหนด
และตกลงร่วมกันไว้แล้ว ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงจะส่งผลให้เกิด Data Governance ที่จะทำให้ข้อมูลนั้นมีคุณภาพและองค์กรจะสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย
ข้อมูลได้ โดยแท้จริง

ที่มา : https://www.coraline.co.th/single-post/data-governance

https://standard.dga.or.th/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/article/2217/