มารู้จักกับมาตรฐาน Wi-Fi 2.4 GHz และ 5 GHz เราควรเลือกใช้แบบไหนดี
เวลาที่เราติดตั้งอินเทอร์เน็ตบ้าน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมักจะมีเราเตอร์ * แถมให้ฟรีมาพร้อมกับโมเด็มด้วยในขั้นตอนการติดตั้งครั้งแรก แต่เมื่อใช้งานไปสักระยะเราจะรู้สึกว่าทำไมเน็ตช้า ไม่เสถียร ต่อ Wi-Fi แล้วมีปัญหาสัญญาณหลุดบ่อยๆ หรือสัญญาณที่ส่งมานั้นช้ามาก พอเจอกับปัญหาเหล่านี้ เรามักจะโทษว่าอินเทอร์เน็ตไม่ดี
แต่ในความเป็นจริงแล้ว นอกเหนือจากปัญหาจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแล้ว ฮาร์ดแวร์ (อุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณ Wi-Fi) ก็มีผลด้วยเช่นกัน สมัยก่อนเราใช้คอมพิวเตอร์ 1 – 3 เครื่องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตภายในบ้าน แต่ในสมัยนี้ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อนั้นมีมากขึ้น เช่น สมาร์ทโฟนคนละเครื่อง แท็บเล็ต คนละเครื่อง บางคนก็พกกันคนละ 2-3 เครื่อง
ทำให้มีปริมาณของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตเยอะมาก เราเตอร์เดิมๆ ที่พื้นฐานรองรับ Wi-Fi 2.4GHz ต่ออุปกรณ์เป็นสิบเครื่อง
ก็รองรับได้ไม่เพียงพอ การเชื่อมต่อสัญญาณรบกวนกัน ทำให้การเชื่อมต่อไม่เสถียร ดังนั้นเราจึงอยากแนะนำให้เลือกการเชื่อมต่อ Wi-Fi ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่เราใช้งาน
มาตรฐานของ Wi-Fi ทุกวันนี้ มี 2 แบบที่ใช้งานทั่วไปคือ 2.4 GHz และ 5 GHz ซึ่งหากว่าเครื่องส่งหรือกระจายสัญญาณ เราเตอร์ที่ใช้งาน รองรับ
การกระจายสัญญาณ Wi-Fi ทั้ง 2.4GHz และ 5GHz ทำให้เราจัดการกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้ดีกว่า แต่ ฝั่งตัวรับสัญญาณ ต้องรองรับ 5GHz ด้วยเช่นกัน
* เราเตอร์ (Router) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแปลความหมายคำว่า Route ก็คือ ถนน นั่นเอง ดังนั้น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย Router ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่ง Router นั้นจะมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานเรียกว่า Internetwork Operating System (IOS) และตัว Router จะมีช่องที่ใช้เสียบต่อสายสัญญาณเรียกว่า Port LAN ซึ่งโดยทั่วไปมักมี 4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว
มาดูข้อแตกต่างระหว่างคลื่นความถี่ 2.4 GHz กับ 5 GHz ดีกว่าว่ามีข้อแตกต่างกันอย่างไร
คลื่นความถี่ของ wireless ที่นิยมใช้ทั่วไปได้แก่ 2.4GHz และ 5GHz โดยในประเทศไทยช่วงแรกๆ ไม่อนุญาติให้มีการนำเข้าอุปกรณ์คลื่น 5GHz ในช่วงแรกและเพิ่งมาอนุญาติเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา
ความถี่ 2.4 GHz นั้นมีใช้ในบ้านเรามานานแล้ว ข้อดีคือ ราคาไม่แพง ข้อเสียคือ ช่องสัญญาณน้อย โอกาสที่สัญญาณทับซ้อนกันมีเยอะ เปรียบเทียบง่าย ๆ ก็เหมือนกับคลื่น FM ถ้าตั้งช่องชนกันจะฟังไม่รู้เรื่อง หรือ ฟังได้ไม่ดี หรือจะเปรียบเทียบกับถนนที่ช่องทางการจราจรน้อย แต่รถที่วิ่งนั้นมีมาก ก็จะเกิดการติดขัด และรับส่งข้อมูลได้ช้า
ส่วนความถี่ 5.0 GHz กทช. เพิ่งจะมาอนุญาติให้ใช้ได้ ราคาอุปกรณ์ก็จะมีสูงนิดนึง แต่ช่องสัญญาณเยอะกว่า 2.4 GHz และ โอกาศช่องสัญญาณชนกับของคนอื่นน้อยเพราะมีช่องสัญญาณที่เยอะกว่า และกทช.ก็อนุญาติให้มีกำลังส่งได้สูงด้วยคือ EIRP ไม่เกิน 30dB
คลื่นความถี่ 2.4 GHz มีอยู่แล้วในอุปกรณ์ ทุกชนิดที่รองรับ Wi-Fi
ส่วน 5.0 GHz จะมีบ้างในอุปกรณ์ใหม่ ๆ ถ้าจะเอาไปใช้ก็ต้องซื้อตัวรับ 5.0 GHz หรือเลือกใช้อุปกรณ์ที่รองรับคลื่น 5 GHz ด้วย ไม่อย่างนั้นคุณก็จะไม่สามารถเชื่อมต่อคลื่น 5 GHz ได้ ส่วนระยะการส่งจะขึ้นกับกำลังส่งของ Access Point และ Gain ขยายของเสา
ดังนั้น หากจะเลือกใช้ 2.4 GHz หรือ 5 GHz คุณควรจะถามตัวเองว่า อุปกรณ์ใดที่คุณเลือกใช้งาน และอุปกรณ์ส่วนใหญ่ของคุณรองรับ 2.4 GHz เป็นพื้นฐานหรือไม่
แต่ถ้าซื้อรุ่นใหม่ แนะนำให้เลือกสเปคที่รองรับ Wi-Fi 5 GHz ไปเลยดีกว่า เพราะ 5 GHz ดีกว่าตรงที่ถ่ายโอนรับ-ส่งข้อมูลไวกว่า และเลือกเราเตอร์ Dual-Band** เพื่อรองรับทั้ง 2 คลื่น Wi-Fi
**ปัจจุบันอุปกรณ์ในตลาดจะมีการสนับสนุนทั้งสองคลื่น
อุปกรณ์ที่สนับสนุนทั้ง 2 คลื่น และสามารถใช้ได้พร้อมกันจะเรียกว่า Dual Band – Dual Radio คือ ใช้ได้ทั้ง 2.4 GHz และ 5 GHz พร้อมกัน
ถ้ามีสนับสนุนทั้ง 2 คลื่น แต่ใช้ได้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น (2.4 GHz หรือ 5 GHz) จะถูกเรียกว่า Single Band-Dual Radio