ทำความรู้จักการสำรองข้อมูล ด้วย 3-2-1 Backup Rule
ในยุคที่ข้อมูลกลายเป็นหัวใจสำคัญของทุกธุรกิจและชีวิตประจำวัน การสูญเสียข้อมูลอาจนำมาซึ่งความเสียหายมหาศาล ด้วยเหตุนี้ การสำรองข้อมูล จึงไม่ใช่เพียงทางเลือก แต่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการสำรองข้อมูลตามกฎ Backup 3-2-1 ซึ่งเป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับสำหรับการวางแผนสำรองข้อมูลอย่างรัดกุม ไม่เพียงแต่ช่วยปกป้องข้อมูล แต่ยังรับประกันได้ว่า จะสามารถกู้คืนข้อมูลได้ แม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
TechSpace จะพามาทำความรู้จักกับ Backup 3-2-1 Rule เพื่อที่จะได้รู้จักและนำไปประยุกต์ใช้กับการสำรองข้อมูล เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูลของคุณในโลกดิจิทัลที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
กฎ Backup 3-2-1 คืออะไร?
กฎ Backup 3-2-1 เป็นแนวทางปฏิบัติที่ง่ายๆ แต่ทำให้การสำรองข้อมูลปลอดภัยมาก ประกอบด้วย:
- 3 Copies (สำเนา 3 ชุด): สร้างสำเนาข้อมูลอย่างน้อย 3 ชุด โดยประกอบด้วยข้อมูลต้นฉบับ 1 ชุด และสำเนาอีก 2 ชุด เช่น ไฟล์ต้นฉบับในคอมพิวเตอร์ สำเนาในฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก และอีกชุดในคลาวด์
- 2 Different Storage Medies (ที่จัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน 2 ประเภท): เก็บข้อมูลในที่เก็บข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างน้อย 2 ประเภท จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย กรณีที่เก็บข้อมูลประเภทใดประเภทหนึ่งเสียหาย เช่น SSD ในคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดไดรฟ์แบบ HDD ภายนอก
- 1 Offsite Copy (สำรองนอกสถานที่ 1 ชุด): เก็บสำเนาอย่างน้อย 1 ชุดไว้นอกสถานที่หลักของการเก็บข้อมูล เช่น สำรองไว้นอกสำนักงาน หรือสำนักงานใหญ่ เพื่อป้องกันการสูญเสียข้อมูลจากภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น ณ สถานที่หลัก ตัวอย่างเช่น สำรองข้อมูลไว้ในบริการคลาวด์ หรือในอาคารอื่นที่ปลอดภัย
ประโยชน์ของการสำรองข้อมูลแบบ 3-2-1
- ปกป้องข้อมูลสำคัญอย่างรอบด้าน: รับมือได้กับภัยคุกคามหลากหลายรูปแบบ เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์เสียหาย หรือภัยธรรมชาติ เช่น หากเกิดไฟไหม้ที่สำนักงาน ข้อมูลที่สำรองไว้ในคลาวด์ยังคงปลอดภัย
- รักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจ: ลดเวลาหยุดชะงักของธุรกิจเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกับข้อมูล ทำให้กู้คืนระบบและข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เช่น บริษัทสามารถกู้คืนฐานข้อมูลลูกค้าได้ทันทีหลังจากระบบล่ม
- ปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล: ลดความเสี่ยงจากการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่มีความอ่อนไหว สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ เช่น ข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วยยังคงปลอดภัยแม้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์
- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน: เข้าถึงข้อมูลได้จากหลายอุปกรณ์และสถานที่ ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นแม้อยู่ต่างสถานที่ ตัวอย่าง: พนักงานสามารถทำงานจากบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเข้าถึงไฟล์งานที่สำรองไว้ในคลาวด์
การนำกฎ Backup 3-2-1 มาใช้จึงไม่เพียงแต่ช่วยปกป้องข้อมูลเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรในหลายๆ ด้าน ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะปลอดภัยและพร้อมใช้งานเสมอ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทำให้พร้อมรับมือกับความท้าทายในยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ
หากองค์กรของคุณต้องการคำแนะนำด้านการสำรองข้อมูลใหักับองค์กร หรือบริการทางไอทีอื่นๆ ติดต่อ TechSpace วันนี้เพื่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ปัญหาให้กับคุณ
ที่มา: https://techspace.co.th/blog/what-is-backup-3-2-1-rule-backup-strategy/