เตือนภัยระวังมิจฉาชีพส่ง SMS แอบอ้างหน่วยงานดัง โดยทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาจตกเป็นเหยื่อและได้รับความเสียหายจากการหลอกลวง ซึ่งในช่วงเดือน มิถุนายน พ.ศ.2567 พบว่า คนร้ายเริ่มกลับมาใช้วิธีส่งข้อความ SMS แอบอ้างเป็น บริษัทขนส่ง กรมที่ดิน กรมขนส่งทางบก การไฟฟ้าฯ โดยแนบลิงก์ให้แตะกดใน SMS ตามที่ได้ตรวจสอบ ซึ่งทุกลิงก์ที่ยกตัวอย่าง อันตรายและมีความเสี่ยงที่จะสูญเงินและข้อมูลส่วนตัว ตามตัวอย่าง ดังนี้

เตือนภัยระวังมิจฉาชีพส่ง SMS

www.fla-qr.com แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.fla-af.com แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.fla-fh.com แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.fla-ah.com แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.flfah-line.cc แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.flo-sh.cc แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.fly-fh.com แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.fly-sh.com แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

th-flash.com แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.th-flash.com แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.Flsah.line.cc แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.flgqh-line.cc แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.flbgh-line.cc แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.fifgh-line.cc แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

flashline.com แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

flash-line.com แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

flfah-line.cc แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

flash-expres.com แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.oy-th.cc แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

www.kerry.orth.cc แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง

dit-gk.cc แอบอ้างเป็นกรมขนส่งทางบก

www.dlt-xf.com แอบอ้างเป็นกรมขนส่งทางบก

dol-th.cc แอบอ้างเป็นกรมที่ดิน

www.pea.xw-th.com แอบอ้างเป็นการไฟฟ้าฯ

โดยในเบื้องต้นทางสำนักตำรวจแห่งชาติได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ระงับการเข้าถึงลิงก์ดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เชื่อว่าในอนาคตจะยังคงมีลิงก์หลอกลวงจากมิจฉาชีพในลักษณะเดียวกันอีก และอาจคล้ายลิงก์เหล่านี้  จึงขอแจ้งเตือนภัยพี่น้องประชาชน ให้สังเกตดังนี้

จุดสังเกต

  • ลิงก์ที่คนร้ายส่งมามักจะสะกดชื่อผิดหรือมีข้อความที่ไม่ปกติต่อท้ายลิงก์
  • Domain ของ Website ปลอมมักจะจดบน Domain Free หรือ Domain ที่ไม่น่าเชื่อถือเช่น .cc
  • SMS ปลอมในบางครั้งคนร้ายจะใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อให้ส่ง SMS ปลอมเข้ามาอยู่ในกล่องข้อความของ SMS จริงได้

เมื่อกดลิงก์เข้าไปจะเป็น Line หน่วยงานที่คนร้ายแอบอ้าง เมื่อเหยื่อเพิ่มเพื่อนคนร้ายในไลน์ คนร้ายจะโทรมาพูดคุยโน้มน้าวเหยื่อและส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปที่สามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือ โดยให้ติดตั้งในเครื่องเหยื่อ พร้อมให้ตั้งรหัสผ่าน 2 ชุดไม่ซ้ำกัน ซึ่งส่วนใหญ่เหยื่อมักจะเอารหัสเดิมๆที่เคยใช้ใน แอปธนาคารใส่ไปด้วย

วิธีป้องกัน ง่ายที่สุดคือไม่กดลิงก์ใดๆที่ส่งมาใน SMS หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อหน่วยงานที่ปรากฏในข้อความ SMS เพื่อสอบถามถึงข้อเท็จจริงของ SMS ที่ได้รับ

พี่น้องประชาชนท่านใดที่ได้รับ SMS แล้วน่าสงสัยว่าน่าจะหลอกลวง โปรดอย่ากดลิงก์ใน SMS ดังกล่าว และส่งข้อมูลดังกล่าวโดย Capture หน้าจอ SMS ที่ท่านได้รับให้ครบถ้วนพร้อมระบุ วันที่ และเวลาที่ได้รับ SMS รวมไปถึงเบอร์โทรศัพท์ที่ได้ส่ง SMS มาให้ท่าน แจ้งเบาะแสผ่านทางช่องทาง www.thaipoliceonline.go.th (ช่องทางแจ้งเบาะแส) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

อ้างอิง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ cover iT24Hrs

อ่านบทความและข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ it24hrs.com