การน้อมนำศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียง

อนิเมชั่นโครงการพระราชดำริ “โครงการแกล้งดิน อันเนื่องมากจากพระราชดำริ”

ความเป็นมา : “ดิน” เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่งเคียงคู่กับ “น้ำ” ในการทำเกษตร แต่ถ้ามีดินเลว ปราศจากซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช ก็เป็นการยากต่อการปลูกพืชได้ จากการทำเกษตรที่ชาวบ้านมีการใช้สารเคมีเป็นระยะเวลานาน และการเผาหน้าดิน เพื่อเป็นการเตรียมหน้าดินสำหรับการเกษตรครั้งต่อไป ยิ่งทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดแร่ธาตุ ขาดน้ำ จนกลายเป็นดินเค็ม ดินเปรี้ยว และ ดินแข็ง

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เล็งเห็นความสำคัญของดิน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประเทศที่ทำการเกษตรเป็นหลัก จึงนำมาซึ่งโครงการพระราชดำริ ห่มดิน เป็นโครงการที่เกี่ยวกับการดูแลและรักษาดิน เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น จุลินทรีย์ทำงานได้ดี อันจะส่งผลให้ดินนั้นทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาทรัพยากรดินให้เกิดแร่ธาตุ

ขั้นตอนการห่มดิน :

ในขั้นตอนแรก จะทำการปรุงอาหารเลี้ยงดิน โดยการนำมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมักมาโรยรอบๆ บริเวณใต้ต้นไม้ เพื่อเป็นประโยชน์ดังต่อไปนี้ กระตุ้นให้จุลินทรีย์สร้างอาหารสำหรับพืช ดินร่วนซุยขึ้น ช่วยดูดซับอาหารไว้ให้พืช ช่วยปรับค่ากรด ด่าง ของดิน ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ช่วยกำจัดและต่อต้านเชื้อโรคในดิน ทำให้พืชต้านโรคและแมลงได้ดี
ขั้นตอนที่สอง การห่มดิน โดยใช้ฟางข้าวหรือเศษพืชที่หาได้ง่าย เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ หญ้าแห้ง โรยให้หนาอย่างน้อย 1 ฟุต ทั้งแปลง โรยด้วยปุ๋ยคอก ทำให้สิ่งมีชีวิตเล็กๆในดิน เกิดการขยายตัวมากขึ้น
ขั้นตอนที่สาม การรดน้ำ เพื่อรักษาความชื้นใต้ฟาง และเสริมด้วยน้ำหมักจุลินทีย์เพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ให้มากขึ้น
ประโยชน์ของการห่มดิน
ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้น
ช่วยให้จุลินทีย์ในดินมีความอุดมสมบูรณ์
ช่วยลดวัชพืชในดิน
ปรับอุณภูมิในดิน
ทำให้ดินแข็งกลับเป็นดินร่วน
ด้วยวิธี ”ห่มดิน” ได้เปลี่ยนสภาพดินเสื่อมโทรมที่ผ่านการใช้งานมาอย่างหนัก สู่การฟื้นชีวิตผืนดิน ทำให้ดินบนสวนเกษตรกลับมามีชีวิตเลี้ยงพืชให้เจริญเติบโตได้อีกครั้ง

นับเป็นแสงแห่งพระบารมีที่จะส่องสว่างกลางใจปวงชนชาวไทยตราบนิรันดร์

อ้างอิง : https://youtu.be/ss6J1b0-H1A

About สบจ.นครศรีธรรมราช สาขาปากพนัง 95 Articles
โทรศัพท์ 075 518 627 , 075 517 761 โทรสาร 075 518 626

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*