1) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา มีปริมาณคดีที่เข้ามาสู่การบังคับคดีเป็นจำนวนมาก มีผลทำให้มีคดีค้างดำเนินการที่อยู่ระหว่างการบังคับคดีสูงถึงกว่าสี่แสนคดี ซึ่งการบังคับคดีตามบทบัญญัติของกฎหมาย ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติทั้งต่อคู่ความ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดถึงเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งปัญหาต่างๆอาจแยกได้เป็น1) ปัญหาเรื่องการสืบทรัพย์และจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อประสงค์จะทำการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ตน มีหน้าที่ต้องทำการสืบหาทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมนำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งสร้างความยากลำบากในการตรวจสอบและจัดหาเอกสารต่างๆ ให้ครบถ้วนเป็นอันมาก
2) การบังคับคดีมีขั้นตอนการดำเนินการมากมาย ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลาแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ไม่นับรวมระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายให้ต้องรอเมื่อครบระยะเวลาตามที่กำหนดก่อนจึงจะดำเนินการต่อไปได้ อีกทั้งไม่นับรวมกรณีที่มีผู้มีส่วนได้เสียร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด ซึ่งต้องรอจนกว่าศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุดก่อน จึงจะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้ ซึ่งขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้การบังคับคดีล่าช้าและใช้เวลานานมาก จนบางครั้งก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ
3) ค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี ซึ่งเงินดังกล่าวแม้จะเป็นเงินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทดรองจ่ายไปก่อนก็ตาม แต่จะได้คืนก็ต่อเมื่อขายทรัพย์ที่ยึดได้ หากเงินค่าใช้จ่ายที่วางไว้ไม่เพียงพอ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องวางเพิ่มเรื่อยไปจนกว่าจะขายทรัพย์ได้ บางคดีต้องทดรองเงินค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า ทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย แต่กลับไม่ได้รับผลการชำระหนี้ครบถ้วนตามคำพิพากษาที่คาดว่าจะได้แต่อย่างใด
4) ปัญหาเรื่องคำพิพากษาไม่เปิดช่องให้บังคับคดีได้ เนื่องจากการบังคับคดีเป็นการดำเนินการตามหมายบังคับคดี ซึ่งออกสืบเนื่องจากคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล และศาลต้องกำหนดการบังคับคดีเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้ทำได้เท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติ มักปรากฏว่าคำพิพากษาของศาลนั้น ไม่เปิดช่องให้ทำการบังคับคดีได้
5) ปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจและประโยชน์ของประเทศชาติ ในคดีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ ทำให้ผู้ถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวได้ เป็นผลให้ทรัพย์สินนั้นสิ้นสุดคุณค่าในเชิงเศรษฐกิจไปชั่วคราว นอกจากนี้ตัวบุคคลผู้ถูกยึดทรัพย์อาจถูกมองว่าเป็นผู้ไม่มีเครดิตน่าเชื่อถือ หรือมีฐานะไม่มั่นคงจนไม่อาจดำเนินธุรกิจอย่างใดได้ อันเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องความยากลำบากและอันตรายที่เกิดขึ้นในการออกไปดำเนินการบังคับคดี และเกิดจากการขัดขวางของจำเลย หรือปัญหาที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีทรัพย์สินเพียงพอแก่การชำระหนี้ หรือทรัพย์สินที่พิพาทเสื่อมค่าเสื่อมราคา รวมทั้งปัญหาเรื่องเจ้าหน้าที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีแพ่งและคดีอาญาเป็นจำนวนมากสาเหตุเนื่องมาจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ประกอบกับมีคดีค้างดำเนินการเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับการบริการที่ดีเพียงพอจากหน่วยงานรัฐ แม้จะมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาความล่าช้าในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ปรับปรุงระบบงานธุรการ ลดขั้นตอนการทำงาน เร่งรัดการบังคับคดีในรูปแบบต่างๆ จัดมหกรรมขายทอดตลาด นำเทคโนโลยีมาช่วย รวมถึงปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาคดีที่มากมายและความล่าช้าในการดำเนินการได้เป็นผลสำเร็จ
จากปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย จึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาการระงับหรือยุติการบังคับคดีทางเลือกขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็ว สะดวกและเป็นธรรม โดยนำเอาขั้นตอนและวิธีดำเนินการของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามแบบที่มีอยู่มาปรับใช้ให้เข้ากับลักษณะของ การบังคับคดี และอาศัยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นแนวทางในการดำเนินการ เดิมศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี ตั้งอยู่ในสำนักงานวางทรัพย์กลาง โดยจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ ปี 2548 เป็นต้นมา และต่อมามีคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 220/2550 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2550 ให้จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ที่กองยึดทรัพย์สิน มีหน้าที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษา ทั้งก่อนการบังคับคดีและหลังจากที่มีการบังคับคดีแล้ว ปัจจุบันศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้ตัดโอนงานและอัตรากำลังออกจากกองยึดทรัพย์สิน และจัดตั้งเป็นหน่วยงานขึ้นตรงโดยใช้ชื่อว่า ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วทั้งก่อนและระหว่างการบังคับคดี ติดตามและประเมินผลการไกล่เกลี่ยจัดเก็บสถิติ จัดอบรมผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดอบรมเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยในชั้นบังคับคดีให้แก่ประชาชน ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
คำถามที่พบบ่อย
1. การไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีสำคัญอย่างไร
ตอบ กรมบังคับคดีมีหน้าที่หลักในการบังคับคดีแพ่ง บังคับคดีล้มละลาย ฟื้นฟูกิจการและวางทรัพย์ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการดำเนินการให้เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด แก่คู่ความทุกฝ่าย นอกเหนือจากการดำเนินการดังกล่าวแล้ว การไกล่เกลี่ยยังเป็นอีกหน้าที่หนึ่งซึ่งกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการของกรมบังคับคดี เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยคู่ความสามารถเจรจายุติข้อพิพาทได้ด้วยความพึงพอใจร่วมกัน และทั้งสองฝ่ายยังสามารถรักษาความสัมพันธ์ต่อไปได้ ซึ่งนับว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม ลดปริมาณคดีที่เข้าสู่กระบวนการ บังคับคดี และยังเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการยุติการบังคับคดีด้วยตนเอง
2. Apa yang dimaksud dengan mediasi pada tingkat eksekusi pengadilan?
Jawaban: Mediasi pada tingkat eksekusi pengadilan. Merupakan suatu metode penyelesaian sengketa untuk mengakhiri penegakan hukum dengan menggunakan pihak ketiga yang netral yang disebut “mediator” untuk membantu. Saran Agar para pihak dapat bersama-sama mencari penyelesaian perselisihannya. Apabila tercapai kesepakatan maka akan berakibat pada pencabutan sita harta kekayaan. Menarik penyitaan aset atau membatalkan eksekusi Dengan membuat nota kesepahaman yang mengikat para pihak untuk mematuhinya
Mediasi perselisihan Hal ini akan membantu semua pihak untuk mencapai kesepakatan bersama dari perselisihan tersebut. Mediator akan berada di sana untuk memotivasi, memberi nasihat, mempengaruhi, menafsirkan, atau menunjukkan kemungkinan jalan. Untuk mengatasi masalah tersebut sengketa kepada para pihak Mediator tidak mempunyai kekuasaan untuk menentukan kesepakatan bagi para pihak seperti halnya arbiter. atau hakim mana pun Setuju atau tidaknya adalah keputusan para pihak itu sendiri.
3. การไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีจะเกิดขึ้นได้เมื่อใด
ตอบ ๑) มีคำพิพากษาของศาลแล้ว
๒) มีคู่กรณีตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
๓) มีคนกลางช่วยเหลือในการเจรจาโดยไม่ได้ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทให้
๔) คู่กรณีสมัครใจให้มีคนกลางช่วยเหลือ
๕) ผลการไกล่เกลี่ยเกิดจากการตัดสินใจของคู่กรณีเอง 4. ผู้ไกล่เกลี่ยคือใคร
ตอบ “ผู้ไกล่เกลี่ย” คือ คนกลางที่คู่กรณีตกลงให้ช่วยเหลือในการเสนอแนะหาทางออกให้คู่กรณีสามารถ ตกลงกันได้ทุกฝ่าย โดยอาจเป็นบุคคลภายนอก หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้
5. ประเภทของการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีมีอะไรบ้าง
Slot Online ตอบ ๑) การไกล่เกลี่ยก่อนการบังคับคดี คือ การไกล่เกลี่ยก่อนที่จะมีการบังคับคดียึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ ของลูกหนี้ เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา คู่กรณีสามารถขอให้มีการไกล่เกลี่ยได้ โดยไม่ให้ดำเนินการบังคับคดี เพื่อนำไปสู่การถอนการบังคับคดีต่อไปได้๒) การไกล่เกลี่ยภายหลังการบังคับคดีแล้ว คือ การไกล่เกลี่ยภายหลังจากที่มีการบังคับคดียึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ หรือขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ซึ่งหากคู่ความสามารถตกลงกันได้จะมีผลให้มีการ ถอนการยึดทรัพย์ ถอนการอายัดทรัพย์ หรือถอนการบังคับคดีต่อไป แล้วทำบันทึกข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อใช้บังคับตามที่ตกลง หรือหากตกลงกันได้เพียงบางส่วน ประเด็นที่ตกลงกันไม่ได้ก็สามารถ ดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
6. กระบวนการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีเป็นอย่างไร
ตอบ ๑) การเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนการบังคับคดี ภายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษา คู่กรณีสามารถตกลงให้คนกลางช่วยเหลือในการระงับหรือยุติการบังคับคดีได้ โดยยื่นคำร้องแสดงความประสงค์ต่อ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี หรือที่สำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ
๒) การเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยภายหลังการบังคับคดีแล้ว คู่กรณีสามารถตกลงให้มีการไกล่เกลี่ย ก่อนมีการขายทอดตลาดหรือหลังการอายัดทรัพย์แล้วก็ได้ โดยยื่นคำร้องต่อศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี หรือสำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ เพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยให้ อันนำไปสู่การถอนการยึดทรัพย์ ถอนการอายัดทรัพย์ หรือถอนการบังคับคดีต่อไป 7.ขั้นตอนในการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีมีอะไรบ้าง
ตอบ ๑) การเตรียมคดี
ผู้ไกล่เกลี่ยจะศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคดีก่อน อาจจะดูจากพยานหลักฐานที่มี หรือสอบถามคู่กรณี เพื่อทราบถึงปัญหาและความต้องการของแต่ละฝ่าย
๒) เริ่มการประชุมไกล่เกลี่ย
ผู้ไกล่เกลี่ยกล่าวเปิดการไกล่เกลี่ย โดยการแนะนำตัวเองและสร้างบรรยากาศในการเจรจา ตลอดจนชี้แจงถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ไกล่เกลี่ย และอธิบายขั้นตอนกระบวนการ รวมถึงกติกามารยาทต่างๆ ในการเจรจาให้คู่กรณีทราบ
๓) การค้นหาความต้องการแท้จริงของคู่กรณี
ผู้ไกล่เกลี่ยต้องค้นหาความต้องการที่แท้จริงของคู่กรณีจากข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ได้รับ ซึ่งอาจเป็นการเจรจารวมกันทุกฝ่าย หรือประชุมแบบแยกเจรจาทีละฝ่ายก็ได้
๔) การหาทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ผู้ไกล่เกลี่ยมีหน้าที่ลดประเด็นข้อขัดแย้ง และเสนอทางออกในการยุติข้อขัดแย้งให้แก่คู่กรณี 8. ผลการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีเป็นอย่างไร
ตอบ
กรณีไกล่เกลี่ยสำเร็จ
เมื่อคู่กรณีสามารถตกลงกันได้ ก็จะมีผลให้การบังคับคดีเสร็จสิ้นลง เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการ ถอนการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๙๕ อันจะทำให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้รับการเยียวยาและเป็นที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และในการไกล่เกลี่ยในชั้นบังคับคดีนั้น คู่กรณียังสามารถดำเนินการทำเป็นบันทึกข้อตกลงให้มีผลบังคับระหว่างกันได้ระหว่างกันได้ โดยถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นโดยผลของการปฏิบัติตามคำพิพากษา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อาจบอกเลิกหรือปฏิบัติให้เป็นอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๕๐/๒๕๕๑)
กรณีไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จหรือสำเร็จเพียงบางส่วน
ในกรณีที่คู่กรณีตกลงกันไม่ได้ ผลของคำพิพากษาที่มีอยู่ทั้งหมดก็ยังไม่ได้หมดไป ผู้ไกล่เกลี่ยจะเป็น ผู้ทำรายงานการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ย และส่งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไป
สำหรับกรณีที่ตกลงกันได้บางส่วน ผู้ไกล่เกลี่ยจะเป็นผู้ทำรายงานการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ย และส่งสำนวนคืนเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไปในส่วนที่ตกลงกันไม่ได้ 9. การไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีใช้เวลานานเท่าใด
ตอบ ระยะเวลาในการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีขึ้นอยู่กับความยากง่ายของข้อพิพาทหรือคดี ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ ๑-๓ เดือน 10. การไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีมีค่าใช้จ่ายหรือไม่
ตอบ ในการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี คู่กรณีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น 11. ประโยชน์ของการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีมีอะไรบ้าง
ตอบ การไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับคู่กรณี และยังเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบังคับคดีซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
๑) ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
๒) เป็นที่ยุติ คดีที่คู่กรณีสามารถตกลงกันได้โดยวิธีการไกล่เกลี่ยนั้น ทำให้การบังคับคดีเสร็จสิ้นไป ไม่มีปัญหาการร้องเพิกถอนการบังคับคดีตามมา
๓) การยอมรับของคู่กรณี การที่คู่กรณีสามารถหาข้อยุติได้ด้วยตนเอง มีการยอมรับปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น ทำให้ไม่ต้องมีการบังคับคดีต่อไป
๔) ข้อยุติได้นั้นมีความเหมาะสมกับคู่กรณี เนื่องจากคู่กรณีสามารถเลือกที่จะทำข้อตกลงอย่างไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
๕) เป็นความลับ กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นความลับ บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องรักษาความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลที่ได้รับจากกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้น
๖) ข้อตกลงระหว่างคู่กรณีสามารถบังคับได้ ผลของการบันทึกข้อตกลงจากการไกล่เกลี่ยเป็นข้อตกลง ที่เกิดขึ้นโดยผลของการปฏิบัติตามคำพิพากษา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อาจบอกเลิกหรือปฏิบัติให้เป็นอื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายได้
๗) รักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี หรือก่อให้เกิดการสัมพันธ์ในระยะยาว
๘) มีความยืดหยุ่น คู่กรณีสามารถเลือกใช้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งหมด หรือในประเด็นใดประเด็นหนึ่งในคดีก็ได้ ส่วนที่เหลืออาจให้มีการดำเนินการบังคับคดีต่อไป
๙) มีคุณภาพ บุคคลที่ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ย มักเป็นบุคคลที่มีความสามารถหรือเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ
๑๐) ยังคงสิทธิในการดำเนินการบังคับคดี การไกล่เกลี่ยเป็นเพียงส่วนเสริมสำหรับการดำเนินการบังคับคดีไม่ใช่การแทนที่ คู่กรณียังคงมีสิทธิในการบังคับคดี หากคู่กรณีมีความต้องการที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไป
๑๑) ลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่กระบวนการบังคับคดี
๑๒) แบ่งเบาภาระงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี ทำให้สามารถไปดำเนินการบริหารจัดการในด้านอื่นๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและพัฒนาประเทศต่อไป
12. หากต้องการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีต้องทำอย่างไร
ตอบ คู่กรณีสามารถติดต่อศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี หรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัดได้ทั่วประเทศ เพื่อขอให้ศูนย์ไกล่เกลี่ยดำเนินการให้ได้
13. จะติดต่อศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดีได้ที่ไหน
ตอบ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมบังคับคดี
ตั้งอยู่ที่ 189/1 อาคารกรมบังคับคดี ชั้น 7
ถ.บางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพฯ 10700 โทร 0-2881-4816
14. ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีต้องเตรียมตัวอย่างไร
ตอบ
๑) รวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาข้อพิพาทตลอดจนข้อเสนอต่างๆ ที่จะใช้ในการเจรจาตกลงกันกับคู่กรณี
๒) บุคคลที่เข้าร่วมเจรจาไกล่เกลี่ย ควรมีอำนาจตัดสินใจในปัญหาข้อพิพาทนั้นโดยตรง
๓) เข้าร่วมไกล่เกลี่ยตามวัน เวลา ที่นัดหมายไว้
๔) ตั้งใจให้ความร่วมมือกับผู้ไกล่เกลี่ย เพื่อนำไปสู่ข้อยุติอันเป็นที่ยอมรับกันได้
๕) ใช้คำพูด กิริยา อัธยาศัยอย่างสุภาพ ระหว่างการไกล่เกลี่ย
15. การไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีจำเป็นต้องมีทนายความหรือไม่
ตอบ ในการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีไม่จำเป็นต้องมีทนายความก็ได้ เพราะอำนาจตัดสินใจอยู่ที่คู่กรณีโดยตรงอยู่แล้ว