
ด้วยรัฐบาลได้กําหนดมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID๑๙) อย่างเข้มงวดมาแล้วระยะหนึ่งและได้ดําเนินมาตรการตรวจคัดกรองเชิงรุกเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเร่งรัดดําเนินการฉีด วัคซีนให้แก่ประชาชน ซึ่งจะช่วยให้สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลําดับ รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีจึงได้ออกข้อกําหนดออก ตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๓) ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ผ่อนคลายมาตรการการควบคุมบางกรณี และปรับระดับการกําหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เพื่อให้การ ดําเนินชีวิตของประชาชนและการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมสามารถดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับ มาตรการด้านสาธารณสุข ซึ่งภารกิจของกรมบังคับคดีเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและเสริมสร้าง ความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและนักลงทุน ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์สอดคล้องตามข้อกําหนดดังกล่าว และเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID๑๙) ของผู้มาติดต่อราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดของกรมบังคับคดีในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) จึงกําหนดมาตรการในการดําเนินการของ เจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๔) ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป ดังนี้
๑. ด้านงานคดี
๑.๑ ให้สํานักงานบังคับคดีปรับเปลี่ยนเวลาการให้บริการ ให้เป็นไปตามประกาศ ของกรมบังคับคดีเรื่อง การติดต่อขอรับบริการของสํานักงานบังคับคดีแพ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( COVID – ๑๙ )
๑.๒ การตั้งเรื่องยึดทรัพย์และอายัดทรัพย์ให้ดําเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) เฉพาะสํานวนใหม่ในสํานักงานที่ใช้ระบบการยึดทรัพย์และอายัดทรัพย์ทางอิเล็กทรอนิกส์
๑.๓ การติดต่อราชการในเรื่องอื่นๆ ขอให้ใช้ระบบลงนัดล่วงหน้าและกําหนดจํานวนคิว การให้บริการเพื่อมิให้ผู้มาติดต่อมารวมตัวกันแออัดเกินไป และให้สอดคล้องกับจํานวนเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ
๑.๔ ในการส่งหมาย ประกาศและเอกสารของพนักงานเดินหมายขอให้ผู้อํานวยการพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งนี้หากเป็นพื้นที่เสี่ยงอาจพิจารณาให้จัดส่งทางไปรษณีย์ได้
๒. ด้านการจัดสถานที่
๒.๑ จัดให้มีจุดตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิร่างกายของบุคลากรและประชาชนทุกคนและให้ติดสติ๊กเกอร์แสดง สัญลักษณ์ก่อนเข้าภายในพื้นที่ หรืออาคารของหน่วยงาน
๒.๒ จัดให้มีจุดลงทะเบียนเข้า – ออกของประชาชนทุกคนโดยการสแกน QR Code ไทยชนะหรือแบบฟอร์มลงทะเบียนของแต่ละหน่วยงาน
๒.๓ จัดให้มีจุดบริการแอลกอฮอล์ชนิดเจล หรือ ชนิดน้ําให้แก่ประชาชนทั้งบริเวณทางเข้าพื้นที่อาคารและ เคาน์เตอร์บริการประชาชน
๒.๔ เพิ่มความถี่ในการทําความสะอาดสถานที่ให้บริการประชาชน เช่น เคาน์เตอร์บริการประชาชน ที่จับ บริเวณประตู ราวบันได เครื่องกดบัตรคิว ปุ่มกดลิฟท์ เก้าอี้บริการ หรือ เก้าอี้นั่งรอรับบริการของประชาชน ห้องน้ํา และ สถานที่อื่นๆ ที่มีการใช้ร่วมกันของคนจํานวนมาก
๒.๕ จัดให้มีป้ายประกาศขอความร่วมมือประชาชน หรือ ป้ายประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติเมื่อมาติดต่อขอรับบริการ ณ หน่วยงาน
๓. ด้านการสร้างระยะห่างทางสังคม
๓.๑ จัดเก้าอี้นั่งรอ หรือ จุดให้บริการประชาชนให้มีระยะห่างกันอย่างน้อย ๑ เมตร
๓.๒ ในการขายทอดตลาดให้ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีพิจารณาจัดการขายทอดตลาดที่ละชุด และจัดลำดับการเข้าห้องขายทอดตลาดโดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนผู้สนใจเข้าซื้อทรัพย์ในชุดที่ทำการขายทอดตลาด และจัดมาตรการคัดกรองและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
Leave a Reply