การประเมินความเสี่ยง/ผลกระทบจากการดำเนินงาน

การประเมินความเสี่ยง/ผลกระทบจากการดำเนินงานของสำนักงานบังคับคดีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่อาจทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                  สำนักงานบังคับคดีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำนักงานภายใต้สังกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม มีภารกิจเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามคำสั่งศาล การชำระบัญชีตามคำสั่งศาล การวางทรัพย์ การประเมินราคาทรัพย์สินและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี ดำเนินการยึด อายัด และจำหน่ายทรัพย์สิน รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ตลอดจนกำกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อให้เจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสียได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้อย่างเป็นธรรม  สถิติด้านการบังคับคดีของสำนักงานบังคับคดีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีปริมาณคดีที่อยู่ระหว่างดำเนินการมากกว่า 10,000.- คดี โดยแบ่งตามประเภทคดีเป็นคดีอายัดสิทธิเรียกร้องประมาณร้อยละ 70  คดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดประมาณร้อยละ 25 และคดีขับไล่รื้อถอนประมาณร้อยละ 5  จากสถิติคดีเกิดใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 1,800  คดี  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  จำนวน 1,975 คดี และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ครึ่งปีแรก) จำนวน 1,046 คดี (ปรากฏตามเอกสารรายงานสถิติคดีแนบท้ายรายงานนี้)   ซึ่งเห็นได้ว่า แนวโน้มของคดีความหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว เข้าสู่ระบวนการบังคับคดีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี จึงมีการประเมินผลกระทบ/ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเข้าสู่กระบวนการบังคับคดี โดยแบ่งตามภารกิจหลักด้านต่างๆ ของสำนักงานบังคับคดีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*